วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551

1.ภูมิปัญญาท้องถิ่น


"สบู่ถ่าน"เมื่อพูดถึง "ถ่าน" หลายคนจะนึกไปถึงชิ้นไม้ ซึ่งผ่านการเผา ด้วยความร้อนมาแล้ว และมีสีดำ หากจับต้องสี ที่เกิดจากธรรมชาติจะติดมือ เสื้อผ้า ถ่าน ไม่เพียงแค่เป็นเชื้อเพลิง สำหรับหุงต้มอาหาร ในครัวเรือน ในทางการแพทย์ซึ่งผ่านขั้นตอน ขบวนการสกัดมาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ล้างท้อง ในกลุ่มคนที่รับสารพิษเข้าร่างกายในจำนวนมากและ...ปัจจุบันถ่านยังสามารถนำมาแปรรูปทำ "สบู่" ซึ่งหลายคนคงเกิดข้อข้องใจระคนสงสัยว่างานนี้หาใช่เงาะถอดรูป แต่อาจกลายเป็นเจ้าเงาะป่าตัวดำ ขอบอกว่า...ผิดถนัดนายสมหมาย สาตทรัพย์ สถาบันเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบท จำเนียร สาระนาค ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวว่า "ถ่านแยกเป็น 2 ประเภทคือไม่นำไฟฟ้าและนำไฟฟ้า ซึ่งถ่านคุณภาพดีจะต้องมีคาร์บอนสูง 80 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำไฟฟ้าได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นถ่านไม้ไผ่ เพราะเซลล์ 1 กรัม มีพื้นที่รูพรุนในการ ดูดของเสีย 400 ตารางเมตร พื้นที่รูพรุนนี้เองที่เป็นกำลังดูดสารพิษได้มหาศาล"ประโยชน์ของผงเล็กๆนี้หากนำไปทาถูกับผิวหนังจะช่วยปรับอนุมูลอิสระในร่างกาย ดูดของเสีย สารพิษในรูขุมขน และยังมีประสิทธิภาพในการดูดเซลล์ที่ตายออกมา เพื่อให้ผลิตเซลล์ใหม่ทำให้ ผิวเต่งตึง และหากทาผิวทิ้งไว้ชั่วครู่ แล้วล้างด้วยน้ำ สะอาด "ผงถ่านที่ไหลไปตามน้ำยังทำงานตลอดเวลา" ไม่มีการสลายตัว ซึ่งน้ำผงถ่านที่ไหลลงไปคูคลอง จะไปช่วยให้เกิดการตกตะกอน ส่งผลทำ ให้เกิดการเน่าเสียน้อยลงได้อีกทางหนึ่งจากคุณประโยชน์ดังกล่าว "ชมรมคนเอาถ่าน" จึงได้คิดค้นสูตรการทำ "สบู่ถ่าน" โดยเริ่มแรก นำถ่านไปบดให้เป็นผง และร่อนให้ละเอียดเพื่อให้ได้ปริมาณ 2 ช้อนชา ใช้กรีเซอร์ลีนไม่มีโซดาไฟ 1 กก. น้ำสมุนไพร อาทิ มะเขือเทศที่มีคุณสมบัติช่วย ทำให้ผิวพรรณสดใสมาปั่นคั้นน้ำ มะขามเปียกคั้นน้ำ หรือน้ำผึ้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 200 ซีซี และหากต้องการความหอมให้ใส่หัวนํ้าหอมเล็กน้อย ขั้นตอนการผลิต นำกรีเซอร์ลีนไปนึ่งในไอความร้อนให้ละลาย ตามด้วยน้ำสมุนไพร ผงถ่าน กวนให้เข้ากัน สุดท้าย ใส่กลิ่นน้ำหอมตาม ตักใส่พิมพ์ที่เตรียมทิ้งไว้ 30 นาที จะได้สบู่ขนาด 3X2X1 นิ้ว จำนวน 30 ก้อน เมื่อจับตัวเป็นก้อนแข็ง แกะออกและใช้พลาสติกซีน หรือจะเก็บใส่กล่องกระดาษ กล่องไม้ที่ให้กลิ่นหอม เพื่อเก็บไว้ใช้รู้อย่างนี้ สถานเสริมความงามใด ต้องการนำไปทำสปาให้ลูกค้า ชมรมคนเอาถ่านเขาก็ไม่ว่าอะไร ส่วนผู้ที่สนใจฝึกทำสบู่ถ่าน ขอให้รวมกลุ่มตั้งแต่ 7-10 คน ทางชมรมฯยินดีที่จะสอนให้นอกเวลาราชการที่ โทร.0-2280-0180 ต่อ 2981-2

ที่มา http://www.siam-handicrafts.com/webboard/question.asp?QID=489


2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น "โอ่งมังกร"

คนจีนรุ่นบุกเบิกชื่อ นายจือเหม็ง แซ่อึ้งและพรรคพวก ได้รวบรวมทุนได้ 3,000 บาท ตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 เป็นโรงงานขนาดเล็กบริเวณสนามบินอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรีเดี๋ยวนี้แหล่งดินสีแดงที่ราชบุรีก็ค่อนข้างจะมีคุณภาพเหมือนที่เมืองจีน ดังนั้น จากเดิมเราใช้โอ่งอ่างไหจากเมืองจีนผู้ริเริ่มก็ทำอ่าง ไห กระปุก และโอ่งบ้างเล็กน้อย ให้ชาวมอญราชบุรีใส่เรือไปเร่ขาย

การทำโอ่งได้ริเริ่มอย่างจริงจังก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินขาวที่ใช้แต่งลวดลายเดิมได้มาจากเมืองจีนต่อมาได้หาทดแทนจากดินที่ท่าใหม่จันทบุรี และสุราษฏร์ธานี เมื่อกิจการรุ่งเรืองขึ้น โรงงานจึงขยายกิจการและผลิตโอ่งเพิ่มมากขึ้นหุ้นส่วนหลายคนแยกตัวไปตั้งโรงงานเอง โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตโอ่งอยู่ถึง 42 แห่ง และเป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบต่าง ๆ ออกไปอีก 17 แห่งตามจังหวัดอื่น ๆ ที่แยกไปจากนี้ คือ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรีและในกรุงเทพมหานครบริเวณ สามเสน เป็นต้น

เจ้าของโรงงาน ช่างปั้น และประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดราชบุรี เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วล้วนเป็นลูกหลานจีน ดังนั้นช่างปั้นจึงได้คิดคัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคล และมีความหมายที่ดี เพื่อให้เกิดความรู้สุกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากความงามเพียงอย่างเดียว ที่สุดก็ได้เลือกสรรลวดลายมังกร ซึ่งแฝงและฝังไว้ด้วยความหมายตามความเชื่อ คตินิยมในวัฒนธรรมจีน ลวดลายมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน ล้วนเป็นสัตว์สำคัญในเทพนิยายของจีน เป็นเทพแห่งพลัง แห่งความดี และแห่งชีวิต ช่างปั้นเลือกเอามังกรที่มี 3 เล็บหรือ 4 เล็บ เป็นลวดลายตกแต่งโอ่ง ช่างผู้ชำนาญปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปมังกร โดยไม่ต้องร่างแบบ ขีดเป็นลายมังกรด้วยปลายซี่หวี เป็นหนวด นิ้วเล็บ ส่วนเกล็ดมังกรหยักด้วยแผ่นสังกะสีแล้วเน้นลูกตาให้เด่นออกมา

ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นบ้านของสำนักงานอุสาหกรรมจังหวัดราชบุรีสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกส์ เช่น โรงงานเถ้าฮงไถ่ก็หันไปผลิตเครื่องปั้นดินเผ่าประเภทออกแบบลวดลาย สวยงามตามความต้องการของลูกค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานนี้ได้ มาตรฐานสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ กรมศิลปากรเคยมาว่าจ้างให้ผลิตเครื่องปั้นดินเผ่าที่มีคุณค่าเพื่อใช้ในงานฉลอง 200 ปี กรุงเทพมหานคร ถ้วยชามเบญจรงค์เลียนแบบของเก่าก็มีผลิตที่โรงงานรัตนโกสินทร์นักท่องเที่ยวที่ผ่านมาถึงราชบุรีก็อดใจซื้อติดมือกลับไปไม่ได้ ส่วนโรงงานสยามราชเครื่องเคลือบก็พัฒนาการผลิตเป็นแจกัน เลียนแบบเครื่องสังคโลก แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมนัก บางโรงงานก็ก้าวไปไกลหันไปผลิตถ้วยชามและของชำร่วย เช่น โรงงานเซรามิกส์บ้านโป่งปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคนิคและวิทยาการของอุตสาหกรรม มีการประดิษฐ์วัตถุภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้แทนไหโอ่งมากขึ้นประกอบกับเริ่มมีปัญหาเรื่องปิดป่าหาฟืนยาก จนถึงกับต้องตั้งเป็นสมาคมโรงงานสมาชิกต้องร่วมใจกันเสียสละปลูกป่าทดแทนในเขตสัมปทานโดยเฉพาะ พร้อมกันนั้นต้องหันมาใช้แก๊สช่วยในการเผาไหม้ นับเป็นผลกระทบต่อธุรกิจการค้าของโรงงานอย่างไรก็ตาม โอ่งลายมังกรเมืองราชบุรี คงจะเป็นสินค้าออกของจังหวัดไปอีกนานทีเดียว

การทำโอ่งมังกรมีด้วยกัน ๕
ขั้นตอนขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมดิน
ขั้นตอนที่ ๒ การขึ้นรูปหรือการปั้น
ขั้นตอนที่ ๓ การเขียนลาย
ขั้นตอนที่ ๔ การเคลือบ
ขั้นตอนที่ ๕ การเผา

ที่มา : http://www.ratchaburi.go.th/data/cultye/jar.htm

3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น "ผ้าซิ่นตีนจก"


ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในตำบล ของ กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านผลิตภัณฑ์ ผ้าจกราชบุรีรายละเอียดผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าจกราชบุรี เป็นผ้าทอลายไทยโบราณ ที่มีความละเอียดและต้องอาศัยความประณีตมาก ผ้าซิ่นตีนตกนั้นต้องใช้มือทอเป็นลายแต่ละเส้น ซึ่งกว่าจะได้ผ้าหนึ่งผืนอาจจะกินเวลาถึง 3 เดือนทีเดียว ผ้าของทางกลุ่มจะมีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาตลอดเวลา (OTOP) @วัตถุดิบที่ใช้1.ไหมประดิษฐ์ (ซึ่งใช้ในการทำเส้นยืน)2.ไหม3.ฝ้ายกระบวนการผลิต ทอมือจากหูก โดยทำการย้อมสีเคมีเอง (สีไม่ตก) โดยมีวิธีการทำ 8 ขั้นตอน คือ1.ฟอก 2.กรอ 3.ค้น 4.มัด 5.ย้อม 6.แต้มสี 7.กรอ 8.ทอและขึ้นลายจก(สีธรรมชาติ)การใช้/ประโยชน์นำไปตัดเป็นเครื่องนุ่งห่ม ได้อย่างสวยงามและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ไปตลอดกาลสถานที่จำหน่าย กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้าน2 หมู่ 5 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 ติดต่อ : นางมณี สุขเกษมโทร : 032 314842 ข้อมูล ผ้าจกราชบุรี

ที่มา... http://www.thaitambon.com/

ไม่มีความคิดเห็น: